วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีการอาราธนา-การใช้ พระผงสุพรรณ

วิธีการอาราธนา-การใช้ พระผงสุพรรณ
ให้เอาพระผงสุพรรณสรงน้ำหอม นั่งบริกรรม พุทธคุณ, ธรรมคุณ, สังฆคุณ ๑๐๘ จบ สวดพาหุง ๓ จบ

ให้เก็บน้ำมันหอมไว้ใช้ได้เสมอ และถ้าจะให้เพิ่มความขลังให้ว่าบทดังนี้อีกกลั้นลมหายใจให้เป็นสมาธิเพื่อความขลังยิ่งขึ้นว่า คะเต ลิก เก กะระณังมะหา ชัยยังมังคะลัง นะมะพะทะ กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะถะ ประสิทธิ์นักแลฯ

ลักษณะพระผงสุพรรณ
กรอบ เป็นรูปสามเหลี่ยม ยอดตัด ( ตัดด้วยตอก )ตลอดจนขอบข้าง
และแบบชนิดคล้ายพระนางพญาก็มี แต่มีน้อยมาก พระวรกาย เป็นพระพุทธรูป ศิลป์สมัยอู่ทอง
แบบพิมพ์ที่มารตฐาน มี ๓ แบบคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม
พระเกศ ซ้อนกัน ๓ชั้น พระกรรณ หย่อนยาน ปลายพระกรรณซ้ายหักเข้ามุมใน ต้นของพระกรรณติดกับพระเศียร คล้ายหูแพะ พระอุระ คล้ายหัวช้าง พระอุทร แฟบ ด้านหลังจะปรากฏรอยนิ้วมือเกือบทุกองค์
มารวิชัย พระผงสุพรรณ มีสีที่แตกต่างกัน ถึง ๔สี คือ ๑ สีดำ ๒ สีแดง ๓ สีเขียว ๔ สีพิกุลแห้ง
ส่วน ด้านพระพุทธคุณนั้นใช้ดีในทางเมตตามหานิยม คงกระพัน ตลอดจน แคล้ว และคงกระพันชาตรี
สรุปความแล้วก็ คือ พระเครื่องราง ของขังไม่ว่ากรุใหนๆ วัดใด ก็ตาม ย่อมมีอภินิหาร อำนาจลึกลับ อยู่ในพระเครื่องเสมอ ซึ่งทั้งนี้ก็เนื่องมาจากพระอาจารย์ผู้สร้างพระเครื่องนั้นๆ เสมอ ท่านได้บรรลุแล้วซึ่งญาณสมาบัติ

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระผงสุพรรณ รุ่นจงอางออกศึก

พระอู่ทองออกศึก รุ่นแจกทหารจงอางศึก ปี 10 สร้างที่วัดพระศรีมหาธาตุ
 สุพรรณบุรี อันเป็นที่พบ
"พระผงสุพรรณ" ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของ พระชุดเบญจภาคี เมื่อปี 2510 ประเทศไทยได้จัดส่งกองกำลังทหาร "รุ่นจงอางศึก"
เข้าร่วมรบสมทบกับกองกำลังสหประชาชาติใน สงครามเวียตนาม ที่ประเทศเวียตนามใต้ และในการนี้เอง หลวงปู่โพธิ์ เจ้าอาวาส
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังได้จัดสร้าง "พระอู่ทองออกศึก" แจกแก่ทหาร "รุ่นจงอางศึก" นี้โดยเฉพาะ
โดยนำเนื้อดินำพระที่ชำรุดแตกหักกรุต่าง ๆ เป็นส่วนผสมหลัก เช่น พระผงสุพรรณ กรุวัดพระต่างธาตุ ,พระกรุวัดพระรูป,
พระกรุวัดสำปะฃิว,พระกรุวัดบ้านกร่าง,พระกรุถ้ำเสือ,พระกรุวัดบางยี่หน และพระเนื้อดินชำรุดแตกหักของพระเกจิอาจารย์ เท่าที่จะ
จัดหามาได้อีกมากมาย
พุทธลักษณะคล้ายพระผงสุพรรณ แต่เป็นพระปางสมาธิ ด้านหลังเป็นรูปองค์พระปรางค์ อันเป็นสัญลักษณ์ประจำวัด และ
เป็นสถานที่ พบพระผงสุพรรณ เนื่อพระมีทั้งสีดำ สีเทา และสีแดง
เข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2510 โดยมีพระคณาจารย์ชื่อดังเมืองสุพรรณบุรี นั่งปลุกเสก จำนวน 69 รูป
หลังจากนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีคำสั่งมอบหมายให้นายทหารภายใต้บังคับบัญชา มารับมอบ พระอู่ทองออกศึก ที่วัดพระธาตุ
จำนวน 25,700 องค์ แจกทหาร "รุ่นจงอางศึก"
นอกจากนี้ทางวัดยังนำพระที่เหลือประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีก 2 ครั้ง ในวันที่ 2-10 มี.ค. 2511 และวันที่ 13 เม.ย. 2511
ก่อนที่จะแจกไปตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั่วประเทศ และได้นำพระที่เหลือทั้งหมด บรรจุไว้ในองค์พระปรางค์ที่วัดพระธาตุ
เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2512
พระอู่ทองออกศึก รุ่นแจกทหารจงอางศึก มีประสบการณ์อิทธิปาฏิหาริย์มากมายใน สงครามเวียตนาม ทหารหาญของไทย
รุ่นนี้ให้ความเชื่อมั่นในพุทธคุณ และมั่นใจเป็นอันมาก ไม่ว่าจะโดนยิง โดนแทง หรือโดนระเบิด ต่างก็รอดจากเงื้อมมือมัจจุราชมาได้
อย่างน่าอัศจรรย์
และความเห็นส่วยตัวของผมเองนะครับ ผมว่าสุดยอดนะครับมีทั้งผงสุพรรณ ทั้งกรุบ้านกร่าง ฯลฯ
พระเก่าอย่างน้อยต้องมีรอยย่นตามอายุกาล

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ลักษณะของพระผงสุพรรณ

 รูปทรงของพระผงสุพรรณ มี รูปลักษณะดังนี้
 


รูปทรงสามเหลี่ยม
รูปทรงสี่เหลี่ยม
รูปทรงห้าเหลี่ยม
-ด้านหลังพระผงสุพรณลายมือด้านหลังใหญ่ลงอาคมที่เดียว เป็นลายมือผู้ทรงศีล ( ฤาษี )ถ้าลายมือใหญ่ถือว่า เป็นลายมือคนโบราณ และเป็นพระถึงยุค

- ดินในการสร้างพระผงสุพรรณ ว่านส่วนผสม /มวลสารบังคับ เป็นการสร้างโดยฤาษี จะมีสูตร ที่ตรงกัน กับพระสกุลลำพูน เช่นเดียวกับพระรอด พระคง

-แร่ดอกมะขาม มักจะปรากฏในกรณี ดินดิบ ( เผา ไม่สุก หรือดินศิลาธิคุณ )

-ด้านหลังพระผงสุพรรณ จะมีรอยพับเข้ามา ประเภทของเนื้อพระ

-วรรรสีของพระผงสุพรรณ /สีเขียว/สีดำ/สีใบลานแห้ง/สีดอกพิกุล/สีดอกพิกุลแห้งสีเขียว/สีน้ำตาล/

-ร่องศรขอบพระผงสุพรรณ มักจะปรากฏร่องสรด้านข้างองค์ พระแสดงความเหี่ยวย่นของเนื้อพระแสดงถึงอายุพระ ที่มีการหดตัวของมวลสารในองค์พระว่าด้วยทฤษฎี (

-ว่านหลุด/แร่หลุด ในกรณี พระที่อยู่ในความชื้นใต้ดิน เนื้อพระจะเป็นรูพรุนเป็นจุดหนึ่งในการพิจารณาพระแท้ทำให้ทราบอายุพระโครงสร้างทางโมเลกุลเริ่มเสื่อสลายทางวิทยาศาสตร์

-รอยตอกคัดด้านข้างพระผงสุพรรณ  มีหลายลักษณะ แฉลบ / ตัดแบบเฉลียง/

- โซนเนื้อ  หยาบ /ละเอียดแก่ว่าน การแบ่งโซนเนื้อพระผงสุพรรณแบ่งออกเป็น 2โซนเนื้อ
โซนเนื้อหยาบจาการสันนิษฐานเนื้อหยาบเป็นการสร้างยุคแรก
โซนเนื้อละเอียดเป็นจากการสันนิษฐานการสร้างยุคที่ 2

- สิ่งแวดล้อมที่พบ/ส่วนที่มีความชื้นไม่มีความชื้นน้อย     พระผงสุพรรณที่อยู่ในระดับความชื้นสูงใกล้ระดับน้ำใต้ดินแร่ธาตุในดินกัดผิวพระทำให้เกิดรูพรุน พระชนิดนี้เนื้อพระจะด้าน และสากมือ ส่วนพระที่ค้นพบในระดับดินชั้นบน เนื้อพระจะสวยมีความแห้ง สัมผัสด้วยมือผิวพระจะเกิดความมันวาว เกิดแผ่นฟิลม์ บนผิวพระ

-ไข่ปลาในร่องลายมือ oxidation
- แผ่นฟิลม์ที่ปรากฏบนผิวพระ เมื่อสัมผัสด้วยมือ และ ปัดด้วยพุ่กันหูวัว
- คราบรารัก/ลงรักปิดทอง
-มวลสารบังคับที่พบ แร่ดอกมะขาม
-ยุคของการสร้าง จากวัตถุพยานที่พบ เนื้อหยาบแก่แร่ดอกมะขามสันนิบายนสร้างยุคแรก เหตุผลพระเนื้อพระนี้ไปตรงกับเนื้อพระลำพูน ซึ่งฤาษีเป็นผู้สร้าง เช่นเดียวกันตรงกับ บันทึก ในแผ่นลานทอง ส่วนเนื้อละเอียดแก่ว่านสันนิฐานสร้างในยุคที่สอง
- คราบกรุดินนวล/แคลเซี่ยม
-โซนเนื้อพระผงสุพรรณ/แก่ว่าน/แก่แร่ดอกมะขาม

ข้อมูลจากเวป http://dopratae.com/?id=article_detail&article_id=7

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตำหนิพระพงสุพรรณหน้าแก่

ตำหนิพระพงสุพรรณหน้าแก่
ตำหนิพระผงสุพรรณหน้าแก่
1.ใบหูโค้งและมีร่องลึก เหมือนร่องหูของมนุษย์
2.สองข้างของจมูก เป็นร่องเล็ก
3.ปลายตาทางด้านซ้ายขององค์พระตวัดขึ้นสูง
4.มีเม็ดพดเรียงจากบนลงล่างคล้ายเมล็ดข้าวสาร
5.มีร่องสามเหลี่ยมที่อก
6.อกองค์พระคล้ายงวงช้าง
7.มือใหญ่ อยู่กึ่งกลางองค์พระมือไม่จรดข้อมือองค์พระ
7.ข้อมือมีเว้าลึก

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตําหนิพระผงสุพรรณพิมพ์หน้ากลาง

1.ปลายพระกรรณงอเข้าด้านใน
2.ปลายพระเนตรทางด้านซ้ายขององค์พระตวัดเฉียงขึ้นเล็กน้อย
3.ปลายพระกรรณยาวเกือบเท่าๆกันทั้งสองข้าง
4.ปลายพระกรรณแตกเป็นหางแซงแซว
5.พระอุระคล้ายหัวช้าง
6.ปลายพระหัตถ์ยาวจรดพระกร
7.ข้อพระกรรณ เว้าลึก
8.มีเน้อเกินจากโคนนิ้วขึ้นด้านบน

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การดูเนื้อพระ

การดูเนื้อพระ

                     จะต้องมีผิวที่มีความผุและกร่อนขององค์พระแบบสม่ำเสมออย่างเป็นธรรมชาติทุกด้าน มีความมนและสึกแบบทั่วไปทั้งองค์
ถ้าเนื้อแกร่งควรมี “รารัก” ที่เป็นคราบสีดำๆ ติดแน่นที่องค์พระ อย่างกลมกลืน ไม่เป็นเม็ด หรือเป็นแผ่น
ความกร่อนบางทีกินลึกเข้าไปในเนื้อ แบบพรุนทั้งองค์ มีคราบขุยตามลักษณะของมวลสารกระจายทั่วทั้งองค์ โดยเฉพาะในร่องลึกที่ยังไม่มีการสัมผัส
คราบขุยที่ผุในเนื้อดินส่วนใหญ่จะเป็นผงสีขาวยุ่ย ไม่มีลักษณะเป็นแผ่นมัน หรือก้อนๆของการ “โปะ” (แบบการทำปลอม)
ถ้ามีลูกรัง หรือสนิมเหล็กเกาะ ต้องเป็นสารธรรมชาติมีเม็ดทรายและดินปนอยู่แบบเนื้อดินทั่วไป มีความแข็ง กระด้าง และสีสนิมด้านๆแบบลูกรัง
ถ้าเป็นเนื้อโลหะ ต้องดูการกร่อนของขอบ มีรอยสนิมแตกร้าวรอบองค์ ไม่มีเหลี่ยมคม สนิมจะต้องเกิดเป็นขุม (ชินเงิน สำริด) หรือเป็นแผ่นมันนิ่มๆสีเหลืองแบบไขวัว (เนื้อเงิน) หรือเป็นสนิมแดง (ตะกั่ว)แตกร้าวเป็นลายใยแมงมุม ทั้งองค์ ไม่มีรอยการโปะ หรือทาสีบนองค์พระ สนิมต้องยังคงอยู่ในขุมแบบธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วทั้งองค์พระ แต่ในเนื้อสำริดจะหลากหลายแบบตามส่วนผสม ถ้าทีรอยบิ่นที่ขอบ ให้ดูความพรุนของเนื้อแบบเป็นฟองๆ ของโลหะแยกกันเป็นเม็ดๆ ก็จะช่วยยืนยัน “ความเก่า” ได้ดีขึ้น
 อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/297014

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พุทธคุณของพระผงสุพรรณ

พระผงสุพรรณ พุทธคุณ

เน้นด้านเมตตาบารมี การเป็นผู้นำ น่าเกรงขาม คงกระพัน การมีโชค โภคทรัพย์

 ความมีเสน่ห์ ขจัดทุกข์ ความสงบ หนักแน่น

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวิติพระผงสุพรรณหม้าหนุ่ม หน้าแก่

ประวิติพระผงสุพรรณ หน้าหนุ่ม หน้าแก่


จากสำเนาจารึกลานทองที่ค้นพบกล่าวถึงการสร้าง พระผงสุพรรณไว้ ความว่า“ศุภมัสดุ 1265  สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ว่าฤาษีทั้งสี่ตนพระฤาษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน  เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์ มีสุวรรณเป็นต้น คือ บรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราช  เป็นผู้มีศรัทธา พระฤาษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย  พระฤาษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง  สถานหนึ่งดำ  ให้เอาว่านทำเป็นผงก้อน พิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสี  ศรีสารีบุตร คือ เป็นใหญ่เป็นประธานในที่นั้น  ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน  เสกด้วยมนต์คาถาครบ  ๓  เดือน  แล้วท่านให้เอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูม

         ถ้าผู้ใดพบเห็นให้รับเอาไปไว้สักการบูชาเป็นของวิเศษ  แม้จะมีอันตรายประการใดก็ดี  ให้อาราธนาผูกไว้ที่คอ  อาจคุ้มครองภยันตรายได้ทั้งปวง  เอาพระสงสรงน้ำมันหอม  แล้วนั่งบริกรรม พุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ  ๑๐๘  จบ  พาหุง  ๑๓  จบ ใส่ชันสัมฤทธิ์  นั่งสันนิษฐานเอาความปรารถนาเถิดให้ทาทั้งหน้าและผม  คอหน้าอก  ถ้าจะใช้ทางเมตตา  ให้มีสง่า  เจรจาให้คนทั้งหลายเชื่อฟังยำเกรง  ให้เอาพระไว้ในน้ำมันหอม  เสกด้วยคาถานวหรคุณ ๑๓  จบ  พาหุง  ๑๓  จบ  พระพุทธคุณ  ๑๓ จบ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียนทำพิธีในวันเสาร์  น้ำมันหอมเก็บไว้ใช้ได้เสมอทาริมฝีปาก  หน้าผาก  และผม  ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวมานี้  พระว่านก็ดี  พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี  อย่างประมาทเลย อานุภาพพระทั้ง  ๓  อย่างนี้ดุจกำแพงแก้วกันอันตรายทั้งปวงแล้วให้ว่าคาถาทแยงแก้วกันอันตรายทั้งปวง แล้วให้ว่าคาถาทแยงสันตาจนจบพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณจนจบพาหุงไปจนจบแล้วให้ว่าดังนี้อีก กะเตสิกเกกะระณังมหาไชยังมังคะ  สังนะมะพะทะ แล้วให้ว่า  กิริมิติ  กุรุมุธุ  เกเรเมเถ  กะระมะทะประสิทธิแล”

        พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  สุพรรณบุรี  นับเป็นพระเครื่องเลื่องชื่อ ถูกบรรจุอยู่ในชุด “เบญจภาคี” ซึ่งมีทั้งเนื้อดินและเนื้อชินเงิน  ที่เรียกว่า  “พระผงสุพรรณยอดโถ”
        แต่สาเหตุที่เรียกว่า “ผงสุพรรณ” ก็เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอก
ไม้อันศักดิ์สิทธิ์  จึงได้รับการเรียกขานกันว่า “ผงสุพรรณ” เรื่อยมา  โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น ๓ พิมพ์
     

        ๑.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าแก่
        ๒.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้ากลาง
        ๓.  พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าหนุ่ม

        ศิลปะพระผงสุพรรณมีความสัมพันธ์กับศิลปะพระพุทธรูปประเภทหนึ่ง ได้แก่  พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง  เนื่องมาจากแหล่งต้นกำเนิดของพระผงสุพรรณอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของศิลปะทางศาสนาที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองประการหนึ่ง  นอกจากนี้ ลักษณะการแบ่งแม่พิมพ์พระผงสุพรรณยังจำแนกและเรียกชื่อแม่พิมพ์ตามพุทธลักษณะของพระพุทธรูปอู่ทอง  ซึ่งได้แก่  พิมพ์หน้าแก่  พิมพ์หน้ากลาง  และพิมพ์หน้าหนุ่ม  อีกด้วย

        ในความเป็นจริงแล้วศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะแห่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมัยทวาราวดีกับสมัยขอมหรือเขมร  ต่อมาช่วงหลังได้ผสมผสานศิลปะของสุโขทัยเข้าไปด้วย  จนกลายเป็นพุทธศิลปะที่เกิดจากการผสมผสานโดยมีอายุตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖  จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่  ๑๙  กล่าวคือ  เมื่อสิ้นยุคทวาราวดีขอมได้มีอำนาจ  ในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่ศิลปกรรมแห่งทวาราวดียังคงสืบทอดต่อเนื่อง โดยผสมผสานศิลปะของขอมเข้าไป ก่อนที่สุโขทัยจะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจรัฐและความเจริญทางด้านพุทธศาสนาต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา  ศิลปะอู่ทองเดิมจึงผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกชั้นหนึ่ง  ซึ่งเราอาจแยกประเภทศิลปะของอู่ทองได้ดังนี้
        ๑. ศิลปะอู่ทองยุคแรก  มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘  ศิลปะจะเป็นแบบผสมผสานระหว่างศิลปะทวาราวดีกับศิลปะขอม สามารถจำแนกออกเป็น
           -  ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างลพบุรี  รู้จักกันในชื่อ “อู่ทองเขมร”  “อู่ทอง-ลพบุรี” หรือ “อู่ทอง-ฝาละมี”
           -  ศิลปะอู่ทอง สกุลช่างสุพรรณบุรี รู้จักกันในชื่อ “อู่ทอง-สุวรรณภูมิ” มีลักษณะคล้ายมนุษย์มาก ท่างดงามสุดยอด จะเรียกตามภาษาวงการพระว่า “สันแข้งคางคน”
        ๒. ศิลปะอู่ทองยุคที่สอง มีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙  ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ศิลปะจะผสมผสานระหว่างศิลปะอู่ทองยุคแรกกับศิลปะสุโขทัย  ช่างสมัยจะคาบเกี่ยวกันระหว่างศิลปะสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น รู้จักกันในชื่อ “อู่ทอง-อยุธยาตอนต้น”

        ๓.  ศิลปะอู่ทองยุคที่สาม มีอายุอยู่ในราว พ.ศ.๑๙๕๒ - ๑๙๙๑  อยู่ในช่วงสมัยสมเด็จพระนครินทราชา  สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) จนถึงต้นรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ  ศิลปะจะได้รับอิทธิพลของอยุธยามากขึ้น (จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณข้างศาลาหลวงพ่อเหย ด้านทิศตะวันตกห่างจากองค์ปรางค์ประธาน  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ๓๐ เมตร  พบแม่พิมพ์พระดินเผา  ขนาดกว้าง  ๓  ซ.ม.  สูง  ๔๒  ซ.ม.  เป็นแม่พิมพ์พระผงสุพรรณ  พิมพ์หน้าแก่แต่ท่อนล่างหกชำรุด